02EDF6003

EDF6003 ปรัชญาการศึกษา
ผู้สอน   รศ.ดร.นวลละออ  แสงสุข. รศ.พิมพ์พรรณ เทพสุเมธานนท์
ลิงค์ที่เกี่ยวข้อง

  แนวข้อสอบ
ข้อ 1 เขียนคำศัพท์เกี่ยวกับปรัชญาการศึกษา 6 ข้อ
1. ปรัชญาการศึกษาสารัตถนิยม   Essentialism
2. ปรัชญาการศึกษานิรันตรนิยม   Perennialism
3. ปรัชญาการศึกษาพิพัฒนาการนิยม  Progressivism
4. ปรัชญาการศึกษาปฏิรูปนิยม   Reconstructionism
5. ปรัชญาการศึกษาอัตถิภาวนิยม  Existentialism
6. พุทธปรัชญากับการศึกษา  Buddism

ข้อ 2 วิเคราะห์ปรัชญาทั้ง 6
2.1 จุดมุ่งหมายของการศึกษา
(6)ให้ผู้เรียนได้รู้จักตนเอง และพัฒนาความรู้ความจำ
(4)การศึกษาเป็นเครื่องมือพัฒนาสังคม การทำงานเป็นทีม
(1)มุ่งถ่ายทอดมรดกทางวัฒนธรรมที่สำคัญต่อมนุษย์
(5)มุ่งให้เด็กมีเสรีภาพ โดยไม่ก้าวก่ายเสรีภาพของผู้อื่น
(2)ให้ผู้เรียนตระหนักความเป็นมนุษยชาติและมีเหตุผล
(3)ผู้เรียนนำประสบการณ์ที่ได้รับจากการแก้ปัญหาใช้ตัดสินใจ

2.2 กระบวนการเรียนการสอน
(5) เน้นความต้องการของเด็กแต่ละคนในการเลือกอย่างเสรี
(4) สนองความสนใจด้วยการึ้นึว้า เรื่องเกี่ยวกับสังคม
(6) ให้ผู้เรียนฝึกความคิดให้คิดอย่างถูกวิธี คิดอย่างมีระบบ
(1) ยึดระเบียบวินัยที่ก่อให้เกิดการเรียนรู้ทางเนื้อหาวิชา
(3) ยึดผู้เรียนเป็นศูนย์กลาง เน้นความถนัดและความสนใจ
(2) เชื่อว่าการเรียนรู้อยู่ที่การปลูกฝังจิตใจ รู้จักคิดหาเหตุผล

2.3 สถาบันการศึกษา
(1)ให้ผู้เรียนรู้กฎเกณฑ์ ระเบียบแบบแผนประเพณีของสังคม   
(2)ทำหน้าที่ในการพัฒนา สติปัญญา และความมีเหตุผล   
(3)สถาบันการศึกษา คือแบบจำลองที่ดีงามของชีวิตและสังคม   
(4)สนใจเรื่องอนาคต นำทางให้ผู้เรียนแบบสังคมใหม่   
(5)สร้างบรรยากาศแห่งเสรีภาพให้เด็กทั้งในและนอกห้องเรียน   
(6)อบรมเยาวชนให้เป็นคนดี เป็นมนุษย์ที่ดีโดยหลักธรรม

2.4 ผู้บริหาร
(1)การบริหารยึดแบบอย่าง ยึดมาตรฐาน ยึดระเบียบวินัย
(2)ผู้บริหารยึดหลักเหตุผล ใช้กฎระเบียบอย่างมีเหตุผล   
(3)ดำเนินงานตามมติคณะกรรมการสถาบัน เป็นนักประชาธิปไตย   
(4)มีความคิดกว้างไกล เป็นนักปฏิรูป ดำเนินงานในฐานะผู้นำ   
(5)เห็นความสำคัญของผู้เรียน มีอิสระ ในการเลือกเรียน   
(6)เป็นคนดี ประพฤติดี มีคุณธรรมโดยยึดหลัก พรหมวิหาร 4

2.5ผู้สอน   
(1)ให้ความชำนาญที่เหนือกว่าชักนำให้ผู้เรียน ๆ รู้สิ่งที่เป็นประโยชน์   
(2)เป็นแบบอย่างที่ดีในด้านการคิดและประพฤติที่ดีงาม   
(3)เป็นผู้รอบรู้และมีประสบการณ์ ยอมรับความแตกต่างของผู้เรียน   
(4)เป็นผู้บุกเบิก เป็นนักแก้ปัญหาสนใจเรื่องสังคมอย่างกว้างขวาง   
(5)มีความจริงใจ ให้อิสระแก่เด็ก ทำงานที่ชอบอย่างเสรี   
(6)เป็นผู้ถ่ายทอดศิลปะวิทยาให้แก่ศิษย์ ชี้แนะให้ดำเนินชีวิตที่ดี

2.6 ผู้เรียน
(1)เป็นผู้รับฟัง ทำความเข้าใจเนื้อหาสาระที่ครูกำหนด   
(2)มีเหตุผล จิตใจบริสุทธิ์ มีสติปัญญา มีศักยภาพในตัวเอง   
(3)เป็นศูนย์กลางรับประสบการณ์จากการกระทำของตนเอง   
(4)ได้รับการปลูกฝังให้สำนึกในหน้าที่ ประโยชน์ของสังคม   
(5)มีเสรีภาพเต็มที่ แต่เป็นเสรีภาพที่ไม่ก้าวก่ายเสรีภาพผู้อื่น   
(6)เป็นผู้รับฟังคำแนะนำของครูด้วยความเคารพและศรัทธา

2.7หลักสูตร
(1)หลักสูตรสหพันธ์แบบยึดเนื้อหาวิชาเป็นสำคัญ   
(2)เน้นด้านศิลปะศาสตร์โดยฝึกฝนให้รู้จักเหตุผลและสติปัญญา   
(3)เน้นประสบการณ์ของผู้เรียน เป็นหลักสูตรกิจกรรม   
(4)เน้นสังคม ผู้เรียนต้องเข้าใจสภาพของสังคมที่ดีพอ   
(5)จัดแหล่งเรียนรู้หลากหลายให้มีงานอาชีพ เลือกเรียนตามความสนใจ   
(6)มุ่งผลิตคนที่มีความประเสริฐ ทั้งทางโลกและทางธรรม

2.8วัดและประเมินผล   
(1)การได้มาซึ่งความรู้เป็นการรับมาโดยการถ่ายทอด จดจำ   
(2)วัดความสามารถในการคิด และการใช้เหตุผล   
(3)วัดเนื้อหาวิชาว่าสามารถพัฒนาผู้เรียนให้แก้ปัญหาได้เพียงไร   
(4)วัดผลการเรียนด้านพัฒนาการ และทัศนคติเกี่ยวกับสังคม   
(5)ไม่เน้นการสอบเนื้อหาวิชาจึงไม่มีการสอบประจำชั้นเรียน   
(6)มีความรับผิดชอบและประเมินผลตนเอง ปฏิบัติได้

3. ถ้าท่านเป็นผู้บริหาร ท่านจะนำปรัชญาแบบใดมาใช้ เพราะเหตุใด

4. ปัจจัยใดบ้างที่จะนำไปสู่ความสำเร็จในการบริหารงานสถานศึกษา
4.1 D (Director)
4.2 B (Budget) งบประมาณ
4.3 T (Teacher) ครู
4.4 S (Student) นักเรียน
4.5 P (Parent) ผู้ปกครอง
4.6 C (Curriculum) หลักสูตร
4.7 C (Communication) การสื่อสารในองค์กร
4.8 A (Activity) กิจกรรม

  “ปรัชญาการศึกษา” คือ การเชื่อมโยงความหมายของ “ปรัชญา” และ “การศึกษา” เข้าด้วยกัน กล่าวโดยสรุปได้ว่า ปรัชญาการศึกษา คือ แนวความคิดความเชื่อเกี่ยวกับการกำหนดแนวทางในการจัดการศึกษา ที่แสดงออกมาในรูปของอุดมการณ์ หรืออุดมคติเพื่อเป็นเครื่องนำทางหรือเป็นหลักยึดในการจัดการศึกษาให้บรรลุจุดมุ่งหมายของการศึกษานับตั้งแต่การกำหนดจุดมุ่งหมาย หลักสูตร การเรียนการสอน การกำหนดเป้าหมายทางการศึกษา การสร้างปรัชญาการศึกษาใดจะต้องมีความเหมาะสมและสอดคล้องกับลักษณะของสังคมนั้นๆ ซึ่งขึ้นอยู่กับว่าสังคมนั้นมีหลักความเชื่อ ในเรื่องของความรู้ ความจริง ตามแนวปรัชญาหรือลัทธิใด

แนวคิดและปรัชญาทางการศึกษา
ปรัชญาการศึกษาแบบดั้งเดิมของตะวันตก
  • ปรัชญามโนคตินิยม(Idealism) เชื่อว่า สาระของความแท้จริงในโลกและจักรวาลคือ จิต (Mind) หรือวิญญาณ (Spirit) ซึ่งเป็นสิ่งที่มีอยู่แล้วในโลกและในตัวของมนุษย์ ส่วนโลกที่ทุกคนประสบพบเห็นและรับรู้ด้วยประสาทสัมผัส เป็นเพียงโลกของปรากฏการณ์เท่านั้น ซึ่งแท้จริงแล้วจะมีจิตอยู่เบื้องหลังสิ่งที่แสดงให้เห็นทุกครั้งไป
  • ปรัชญาประจักษ์นิยม (Realism) เชื่อว่า วัตถุเป็นความจริงสุดท้าย เป็นสิ่งที่มีอยู่จริง สิ่งไม่มีอยู่ให้เห็นหรือสัมผัสได้ สิ่งนั้นไม่ใช่วัตถุ และเชื่อว่า ความแท้จริงไม่ใช่สิ่งที่ตายตัว มันเคลื่อนไหวเปลี่ยนแปลงได้เสมอ และความแท้จริง คือ สรรพสิ่งที่มีอยู่ในโลกรอบๆ ตัวมนุษย์ปรัชญาเทวนิยม (Thomism) เชื่อว่า ความเลื่อมใสศรัทธาในพระเจ้าและเหตุผลเป็นพื้นฐานสำคัญของการแสวงหาความจริงและเป็นความจริงตามหลักศาสนา บิดาของปรัชญาสาขานี้ คือ เซนต์ โทมัส อควินัส เป็นนักเทววิทยาชาวโดมินิกัน สอนอยู่ที่มหาวิทยาลัยปารีส ความเชื่อของปรัชญาสาขานี้อยู่ที่ว่ามีความจริงหลายอย่างที่อยู่เหนือความสามารถที่จะรู้ได้ของมนุษย์
  • ปรัชญามนุษยนิยม (Humanism) ปรัชญาสาขานี้เน้นความเคารพและความเมตตาต่อเด็ก และการสอนที่เหมาะสมต่อพัฒนาการด้านศิลปศาสตร์ พฤติกรรมสังคมและหลักคุณธรรม จริยธรรม ปรัชญาสาขานี้เกิดจากแนวคิดของอีราสมุส (Erasmus, 1466-1536) มาร์ติน ลูเธอร์ (Martin Luther, 1483-1546) และฌองจ้าคส์ รุสโซ (Jean Jacques Rousseau, 1716-1778)
ปรัชญาร่วมสมัยที่มีอิทธิพลต่อการศึกษาในประเทศตะวันตก
  • ปรัชญาอัตภาวะนิยม (Existentialism) มีแนวคิดเกี่ยวกับโลกและจักรวาล ว่าเป็น “โลกแห่งความมีตัวตนอยู่จริง” (The World of Existing) และมีแนวคิดว่าความรู้ที่แท้จริงคือ “สิ่งที่มนุษย์แต่ละคนเลือกกำหนดขึ้นมา” (Truth as existential choice)แนวคิดเกี่ยวกับความดี หรือจริยธรรม ของนักปรัชญากลุ่มอัตถิภาวนิยม คือ “จริยธรรมเป็นเสรีภาพของแต่ละคนที่จะเลือกปฏิบัติด้วยความรับผิดชอบ”แนวคิดเกี่ยวกับความงาม หรือสุนทรียภาพ คือ “สุนทรียะ ไม่จำเป็นต้องเป็นไปตามจารีตของสังคม แต่เป็นเรื่องที่แต่ละคนจะสร้างขึ้นมา”
ปรัชญาสารัตถนิยม (Essentialism)
  • แนวคิดการศึกษาคือการให้ความรู้แก่ผู้เรียน เน้นการให้ความรู้ ความมุ่งหมาย มุ่งพัฒนาการทางปัญญาหลักสูตรและโครงสร้างเป็นหลักสูตรรายวิชา เน้นเนื้อหาวิชาการสอนและวิธีการสอนครูเป็นศูนย์กลางเน้นการสอนแบบบรรยาย เรียนด้วยการท่องจำ เน้นการเชื่อฟังครู 
  • การบริหารและการจัดชั้นเรียนจัดแบบครูประจำชั้นเป็นผู้รับผิดชอบห้องเรียน จัดโต๊ะเรียนแบบตายตัวเป็นระเบียบเน้นชาติศาสน์กษัตริย์ 
  • สื่อการเรียนยึดตำราเรียนเป็นหลัก
  • การประเมินผลทดสอบความรู้ในเนื้อหาสาระที่เรียนมาเป็นสำคัญ
  • โรงเรียนเป็นสถาบันอนุรักษ์ถ่ายทอดทางวัฒนธรรม
  • ผู้เรียนผู้เรียนเป็นเสมือนภาชนะรองรับความรู้
  • ครูครูเป็นแบบอย่างเป็นแม่พิมพ์ที่ดีเป็นผู้ถ่ายทอดความรู้และบุคลิกภาพ
มาตรา ๔ ในพระราชบัญญัติการศึกษา
“การศึกษา” หมายความว่า กระบวนการเรียนรู้เพื่อความเจริญงอกงามของบุคคลและสังคม
โดยการถ่ายทอดความรู้ การฝึก การอบรม การสืบสานทางวัฒนธรรม การสร้างสรรค์จรรโลงความ
ก้าวหน้าทางวิชาการ การสร้างองค์ความรู้อันเกิดจากการจัดสภาพแวดล้อม สังคม การเรียนรู้และปัจจัย
เกื้อหนุนให้บุคคลเรียนรู้อย่างต่อเนื่องตลอดชีวิต
"การศึกษาขั้นพื้นฐาน” หมายความว่า การศึกษาก่อนระดับอุดมศึกษา
“การศึกษาตลอดชีวิต” หมายความว่า การศึกษาที่เกิดจากการผสมผสานระหว่างการศึกษาใน
ระบบ การศึกษานอกระบบและการศึกษาตามอัธยาศัย เพื่อให้สามารถพัฒนาคุณภาพชีวิตได้อย่าง
ต่อเนื่องตลอดชีวิต
“สถานศึกษา” หมายความว่า สถานพัฒนาเด็กปฐมวัย โรงเรียน ศูนย์การเรียน วิทยาลัย
สถาบัน มหาวิทยาลัย หน่วยงานการศึกษาหรือหน่วยงานอื่นของรัฐหรือของเอกชน ที่มีอำนาจหน้าที่
หรือมีวัตถุประสงค์ในการจัดการศึกษา
“สถานศึกษาขั้นพื้นฐาน” หมายความว่า สถานศึกษาที่จัดการศึกษาขั้นพื้นฐาน
“มาตรฐานการศึกษา” หมายความว่า ข้อกำหนดเกี่ยวกับคุณลักษณะ คุณภาพ ที่พึงประสงค์
และมาตรฐานที่ต้องการให้เกิดขึ้นในสถานศึกษาทุกแห่ง และเพื่อใช้เป็นหลักในการเทียบเคียงสำหรับ
การส่งเสริมและกำกับดูแล การตรวจสอบ การประเมินผลและการประกันคุณภาพทางการศึกษา
“การประกันคุณภาพภายใน” หมายความว่า การประเมินผลและการติดตามตรวจสอบคุณภาพ
และมาตรฐานการศึกษาของสถานศึกษาจากภายใน โดยบุคลากรของสถานศึกษานั้นเอง หรือโดยหน่วยงาน
ต้นสังกัดที่มีหน้าที่กำกับดูแลสถานศึกษานั้น
“การประกันคุณภาพภายนอก” หมายความว่า การประเมินผลและการติดตามตรวจสอบ
คุณภาพและมาตรฐานการศึกษาของสถานศึกษาจากภายนอก โดยสำนักงานรับรองมาตรฐานและ
ประเมินคุณภาพการศึกษาหรือบุคคลหรือหน่วยงานภายนอกที่สำนักงานดังกล่าวรับรอง เพื่อเป็นการ
ประกันคุณภาพและให้มีการพัฒนาคุณภาพและมาตรฐานการศึกษาของสถานศึกษา
“ผู้สอน” หมายความว่า ครูและคณาจารย์ในสถานศึกษาระดับต่าง ๆ
"ครู" หมายความว่า บุคลากรวิชาชีพซึ่งทำหน้าที่หลักทางด้านการเรียนการสอนและการส่งเสริม
การเรียนรู้ของผู้เรียนด้วยวิธีการต่าง ๆ ในสถานศึกษาของทั้งของรัฐและเอกชน
"คณาจารย์" หมายความว่า บุคลากรซึ่งทำหน้าที่หลักทางด้านการสอนและการวิจัยในสถานศึกษา
ระดับอุดมศึกษาระดับปริญญาของรัฐและเอกชน
“ผู้บริหารสถานศึกษา” หมายความว่า บุคลากรวิชาชีพที่รับผิดชอบการบริหารสถานศึกษา
แต่ละแห่งของรัฐและเอกชน
“ผู้บริหารการศึกษา” หมายความว่า บุคลากรวิชาชีพที่รับผิดชอบการบริหารการศึกษา
นอกสถานศึกษาตั้งแต่ระดับเขตพื้นที่การศึกษาขึ้นไป
“บุคลากรทางการศึกษา” หมายความว่า ผู้บริหารสถานศึกษา ผู้บริหารการศึกษา รวมทั้ง
ผู้สนับสนุนการศึกษาซึ่งเป็นผู้ทำหน้าที่ให้บริการ หรือปฏิบัติงานเกี่ยวเนื่องกับการจัดกระบวนการเรียน
การสอน การนิเทศ และการบริหารการศึกษาในหน่วยงานการศึกษาต่าง ๆ
“กระทรวง” หมายความว่า กระทรวงการศึกษา ศาสนา และวัฒนธรรม
“รัฐมนตรี” หมายความว่า รัฐมนตรีผู้รักษาการตามพระราชบัญญัตินี้
จากพ.ร.บ. มาตราที่ ๔ สอดคล้องกับปรัชญาสารัตถนิยม ซึ่งมีใจความว่า การศึกษาคือเครื่องมือในการสืบทอดมรดกทางสังคม คือวัฒนธรรมและอุดมการณ์ทั้งหลายอันเป็นแก่นสาระสำคัญของสังคมให้ดำรงอยู่ต่อๆไป ดังนั้นหลักสูตรการศึกษาจึงควรประกอบไปด้วย ความรู้ ความจริงและการแสวงหาความรู้เกี่ยวกับกฎเกณฑ์และปรากฏการณ์ตามธรรมชาติต่างๆ การจัดการเรียนรู้การสอนตามแนวความเชื่อนี้จึงเน้นการให้ผู้เรียนแสวงหาข้อมูล ข้อเท็จจริง และการสรุปกฎเกณฑ์จากข้อมูล ข้อเท็จจริงเหล่านั้น

     เอกสารอ้างอิง     ทิศนา  แขมมณี. 2554. ศาสตร์การสอน : องค์ความรู้เพื่อการจัดกระบวนการเรียนรู้ ที่มีประสิทธิภาพ. กรุงเทพฯ : สำนักพิมพ์แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

ปรัชญานิรันดรนิยม (Peremialism)
  • แนวคิด การศึกษาคือให้ความรู้โดยผู้ที่มีความรู้เท่านั้นที่จะสามารถใช้ความคิด เหตุผลและตัดสินใจถูกต้องความมุ่งหมาย มุ่งพัฒนาการทางปัญญาและคุณธรรม
  • หลักสูตรและโครงสร้างเป็นหลักสูตรรายวิชา โดยเน้นเนื้อหาที่เป็นหลักสำคัญและนำศาสนามาเกี่ยวข้อง
  • การสอนและวิธีการสอนครูเป็นศูนย์กลาง เน้นการสอนแบบบรรยาย เรียนด้วยการท่องจำ เน้นการเชื่อฟังครู
  • การบริหารและการจัดชั้นเรียนจัดห้องเรียนมีครูประจำชั้นประจำมีโต๊ะเป็นระเบียบตายตัว
  • สื่อการเรียนยึดตำราเรียนเป็นหลักใช้โสตทัศนศึกษาบางประเภท
  • การประเมินผลทดสอบความรู้ในเนื้อหาสาระที่เรียนมาเป็นสำคัญ
  • โรงเรียน โรงเรียนเป็นพาหะหรือสื่อกลางที่จะนำเด็กไปสู่สัจจะค่านิยมและวัฒนธรรมอันเป็นนิรันดร์
  • ผู้เรียนผู้เรียนเป็นผู้มีเหตุผลมีจิตบริสุทธิ์มีแนวโน้มไปในทางดี
  • ครูครูเป็นผู้แนะและเป็นผู้ควบคุมวินัยทางปัญญาและความประพฤติ
  • แนวคิดในการจัดการศึกษาไทยในยุคปฎิรูปการศึกษา
พระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติ พ.ศ. 2542
  • ซึ่งมีผลใช้บังคับตั้งแต่วันที่ 20 สิงหาคม 2542 เป็นต้นมา ถือได้ว่าเป็นกฎหมายแม่บท ที่เป็นเสมือนธรรมนูญการศึกษาของประเทศ, กล่าวคือ การจัดการศึกษาทุกระดับ ทุกประเภท ทุกรูปแบบต้องดำเนินการโดยยึดพระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติฉบับนี้เป็นหลัก. พระราชบัญญัติฉบับนี้ถือเป็นกฎหมายปฏิรูปการศึกษา เพราะได้กำหนดประเด็นเรื่องสำคัญครอบคลุมการศึกษา ทั้งระบบที่ต้องปฏิรูปและกำหนดเงื่อนเวลาด้วย เช่น เรื่องส่วนใหญ่จะต้องปฏิบัติ 3 ปี คือ ภายในวันที่ 20สิงหาคม 2545 ,บางเรื่องก็ให้เวลามากกว่านั้นคือ เรื่องการประกันคุณภาพการศึกษาจากภายนอก ซึ่งให้เวลาไว้ถึง 6 ปี. ในการปฏิรูปการศึกษาตามพระราชบัญญัตินี้ได้กำหนดหน่วยงานรับผิดชอบไว้ด้วย ได้แก่ กระทรวงศึกษาธิการ ทบวงมหาวิทยาลัย สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาแห่งชาติ และองค์การมหาชนเฉพาะกิจ คือสำนักงานปฏิรูปการศึกษา เพื่อจัดทำกฏหมายปฏิรูปการศึกษาในหมวด 5 ว่าด้วยโครงสร้างและระบบการศึกษา, หมวด 7 ว่าด้วยระบบครู คณาจารย์ และบุคลากรทางการศึกษา, และหมวด 8 ว่าด้วยทรัพยากรละการลงทุนทางการศึกษา
     
  • ในเรื่องสารบัญญัติที่สำคัญต้องถือว่าการปฏิรูปการเรียนรู้ในหมวด 4 เป็นหัวใจการปฏิรูปการศึกษา ทั้งนี้เพราะระบบการศึกษาที่ผ่านมาไม่เอื้ออำนวยต่อการพัฒนาคุณภาพการศึกษาหรือคุณภาพการเรียนรู้ของผู้เรียนเท่าที่ควร ทำให้คุณภาพของไทยไม่สามารถแข่งขันได้, แต่จะทำเฉพาะปฏิรูปการเรียนรู้ ก็จะไม่บังเกิดผลเท่าที่ควรจำเป็นต้องปฏิรูปเรื่องอื่นๆ ที่เชื่อมโยงกันกับการปฏิรูปการเรียนรู้ โดยเฉพาะการปฏิรูปหลักสูตรและการเรียนรู้ที่เน้นผู้เรียนเป็นสำคัญ, การประกันคุณภาพสื่อและเทคโนโลยีการศึกษา และปฏิรูปครู และบุคลากรทางการศึกษา. นอกจากนี้เพื่อให้การปฏิรูปการเรียนเป็นไปได้อย่างสมบูรณ์ และได้ผลยั่งยืน จึงจำเป็นต้องปฏิรูปทรัพยากร และการลงทุนทางการศึกษา และการปฏิรูปโครงสร้างและการบริหารการจัดการศึกษา เพื่อมุ่งเน้นการปฏิรูปการเรียนรู้ที่มุ่งผู้เรียนเป็นสำคัญ เพื่อให้ผู้สำเร็จการศึกษาเป็นคนไทยที่มีคุณภาพและคุณธรรมเข้มแข็ง และแข่งขันได้



แนวข้อสอบ วิชา EDF 6003
QUIZ ครั้งที่ 1

    ปรัชญาการศึกษาหมายถึง
    ตอบ ปรัชญาการศึกษา” คือ การเชื่อมโยงความหมายของ “ปรัชญา” และ “การศึกษา” เข้าด้วยกัน กล่าวโดยสรุปได้ว่า ปรัชญาการศึกษา คือ แนวความคิดความเชื่อเกี่ยวกับการกำหนดแนวทางในการจัดการศึกษา ที่แสดงออกมาในรูปของอุดมการณ์ หรืออุดมคติเพื่อเป็นเครื่องนำทางหรือเป็นหลักยึดในการจัดการศึกษาให้บรรลุจุดมุ่งหมายของการศึกษา นับตั้งแต่การกำหนดจุดมุ่งหมาย หลักสูตร การเรียนการสอน การกำหนดเป้าหมายทางการศึกษา การสร้างปรัชญาการศึกษาใดจะต้องมีความเหมาะสมและสอดคล้องกับลักษณะของสังคมนั้นๆ ซึ่งขึ้นอยู่กับว่าสังคมนั้นมีหลักความเชื่อ ในเรื่องของความรู้ ความจริง ตามแนวปรัชญาหรือลัทธิใด

    ปรัชญามหาวิทยาลัยรามคำแหงได้แก่
    ตอบ ส่งเสริมความเสมอภาคการศึกษา ผลิตบัณฑิตที่มีความรู้ คู่คุณธรรม

    คุณลักษณะของนักศึกษารามคำแหงได้แก่
    ตอบ
    1. เป็นผู้มีคุณธรรม มีศีลธรรม
    2. เป็นผู้ใฝ่ศึกษาหาความรู้
    3. ผู้มุ่งมั่นพัฒนาตนเอง

     เขียน Mind Map เรื่อง ปรัชญาตะวันออกและปรัชญาตะวันตก
    
    QUIZ ครั้งที่ 2

    ให้นักศึกษา เขียนตอบลงในช่องว่าง เรื่อง อภิปรัชญา ญาณวิทยา และคุณวิทยา เช่น อภิปรัชญา มาจาก ภาษาอังกฤษ…..เป็นการค้นหา…..

แนวคำถาม

  1. จากคำกล่าวที่ว่า “มีคุณธรรม นำภูมิปัญญา มุ่งพัฒนาสังคม” อยู่ในปรัชญาการศึกษาใดบ้าง และให้วิเคราะห์แต่ละปรัชญาที่นำมาใช้ในโรงเรียน?
  2. จากสภาพสังคม  การเมือง เศรษฐกิจในปัจจุบันท่านคิดว่าปรัชญาการศึกษาใดที่ควรนำมาจัดการเรียนการสอนมากที่สุด มีความเหมาะสมอย่างไร และควรจัดการเรียนการสอนอย่างไร?
  3. ท่านใช้ปรัชญาการศึกษาใดในการบริหารจัดการโรงเรียน  ผู้บริหาร  ครู  โรงเรียน  นักเรียน วิธีสอน วัดผลประเมินผล ให้ประสบผลสำเร็จ?

รายงานเดี่ยว (10คะแนน) ปรัชญาการศึกษา

ไม่มีความคิดเห็น :

แสดงความคิดเห็น